สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา
“Research and Development is the
transformation of money into knowledge.
Innovation is the transformation
of knowledge into money.”
Dr.Nicholson, Retired 3M Vice President
Services
องค์ความรู้ทางการพยาบาล/การแพทย์/การสาธารณสุขที่ผ่านการวิจัย/พัฒนา ได้แก่ นิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) บทปฏิทัศน์ (Review article) บทความพิเศษ (Special article) บทความฟื้นวิชา (Refresher course) รายงานเบื้องต้น (Preliminary report) หรือรายงานสังเขป (Short communication) รายงาน ผู้ป่วย (Case report) ปกิณกะ (Miscellany) และ นวัตกรรม (Innovation)
Services 1. Research
การวิจัยด้านสุขภาพแบ่งตามประเภทของการใช้ประโยชน์ มีดังนี้
1.เชิงเศรษฐกิจและพาณิชย์ ได้แก่ ได้รับหนังสือหรือหลักฐานอื่น แสดงความสนใจเพื่อเจรจาธุรกิจ มีการซื้อขายเทคโนโลยีระหว่างนักวิจัยและผู้นำไปใช้ประโยชน์ การจัดลิขสิทธิ์ของผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัย
2.เชิงวิชาการ ได้แก่ การปรับแนวทางเวชปฏิบัติ การอ้างอิงผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับประเทศและ/หรือระดับนานาชาติ
3.เชิงนโยบาย หมายถึง จำวนผลงานวิจัยด้านสุขภาพ ที่นำไปประกอบการตัดสินใจในการบริหาร และการกำหนดเป็นนโยบาย มาตรการ แนวทางสำคัญ ในการพัฒนาด้านส่งเสริม รักษา ป้องกัน ฟื้นฟูสภาพ และคุ้มครองผู้บริโภค โดยมีหลักฐานแสดงประกอบการนำไปใช้
4.เชิงการพัฒนาสังคมและชุมชน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้จากงานวิจัยในกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด เช่น อบรม คู่มือ แผ่นพับ โปสเตอร์ เว็บไซด์
Services 2. R2R
R2R (Routine to Research) คือ การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ผลลัพธ์ของ R2R ไม่ได้หวังเพียงได้ผลงานวิจัย แต่มีเป้าหมายเพื่อนำผลงานวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนางานประจำนั้น ๆ R2R จึงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางานขับเคลื่อนองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
องค์ประกอบที่สำคัญของ R2R คือ
1.โจทย์วิจัย R2R : ควรมาจากปัญหาหน้างานจากงานประจำ
2.ผู้ทำวิจัย : ควรเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง โดยแสดงบทบาทหลักของงานวิจัย
3.ผลลัพธ์ของงานวิจัย : ครวัดถึงผลต่อตัวผู้ป่วยหรือผู้รับบริการโดยตรง เช่น ผลการรักษาที่ดีขึ้น ภาวะแทรกซ้อนหรือระยะเวลาวันนอนลดลง เป็นต้น (ไม่ใช่วัดที่ตัวชี้วัดทุติยภูมิเท่านั้น)
4.การนำเสนอผลการวิจัยไปใช้ : สามารถนำไปปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้นในบริบทขององค์กรนั้น ๆ ได้
Services 3. Innovation
เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม
ศาสตราจารย์ ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมไว้ 4 ประการ
1.นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปรับปรุงใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
2.มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3.มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า"สิ่งใหม่"นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
4.ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหาก "สิ่งใหม่" นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็น นวัตกรรมแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่