top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนAdmin

พี่เลี้ยงในองค์กร(Mentoring in organization) โดยศศิมา สุขสว่าง

อัปเดตเมื่อ 21 ก.ย. 2560




พี่เลี้ยง (Mentoring) คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่า โอเดสซีอุส

(Odesseous) เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย  ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่า เมนเตอร์

(Mentor) ให้ปกป้องดูแลทรัพย์สมบัติ  รวมทั้งดูแลสั่งสอนลูกชายของโอเดสซีอุส

ที่ชื่อ เทเลมาซุล (Telemachus)ทั้งวิชาและการใช้ชีวิต ให้ถือว่าเป็นลูกชายอีกคน

หนึ่งด้วย ซึ่งเมนเตอร์ก็ได้รับปากและทำตามที่บอกไว้เป็นอย่างดี

📷

ในปัจจุบันคำว่า " พี่เลี้ยง (Mentoring)" นี้ หมายถึง ผู้ที่มีวัยวุฒิและประสบการณ์สูงกว่า  ซึ่งอาจจะเป็นหัวหน้างาน ที่ปรึกษาอาวุโส  มาถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการทำงาน และการใช้ชีวิตในการทำงานมาให้กับน้องใหม่ หรือผู้ที่กำลังจะขึ้นตำแหน่งใหม่ เป็นต้น

ศัพท์ที่สำคัญ มี 2 คำคือ

Mentor หมายถึง  พี่เลี้ยง รุ่นพี่  พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์  คนสอนงาน

Mentee หมายถึง  พนักงานที่ถูกสอนงาน  พนักงานที่อ่อนประสบการณ์  พนักงานที่เข้ามาใหม่กำลังเรียนรู้งาน หรือเรียกสั้นๆในบทความนี้ว่า "น้องเลี้ยง"

แล้วพี่เลี้ยงหรือ Mentor ที่ดี ต้องมีลักษะอย่างไร

1. มีความเต็มใจที่จะแบ่งปันทักษะความรู้และความเชี่ยวชาญ

พี่เลี้ยงที่ดี มีประสบการณ์  ความรู้และความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ  เต็มใจที่จะสอน ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีและเต็มใจที่จะพัฒนาน้องเลี้ยง (mentee) อย่างเต็มที่ ให้คำปรึกษาและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนกล้าที่จะให้ feedback อย่างตรงไปตรงมาอย่างจริงใจเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2. มีทัศนคติบวกและเป็นแบบอย่างที่ดี

ข้อสำคัญในการเป็นพี่เลี้ยงคือการมีทัศนคติที่ดี หากในที่ทำงานก็ต้องมีทัศนคติเชิงบวกกับที่ทำงาน มีความสุข และสร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้แม้ในสภาวะที่กดดัน หรือไม่พร้อม การเลือกพี่เลี้ยงให้กับพนักงานใหม่ๆเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   หากเลือกคนที่มีทัศนคติที่เป็นลบต่อองค์กรมาเป็นพี่เลี้ยง พนักงานใหม่ที่เข้ามาก็มักจะมีทัศนคติลบตามไปด้วย ซึ่งส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งระยะเวลาที่จะทำงานกับองค์กรด้วย

3.ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์

หนึ่งในความรับผิดชอบที่สำคัญของผู้ให้คำปรึกษาที่ดีคือการให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์เพื่อ mentee จะสามารถเติบโตและพัฒนาได้มากที่สุด  พี่เลี้ยงที่ดีควรมีทักษะการสื่อสารที่ดี จะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดการพัฒนาอาชีพและความรู้สึกของความสำเร็จในการเรียนรู้ในสนามการทำงานจริงได้

4. เป็นที่ยอมรับและนับถือ

เมื่อ mentees มองขึ้นไปที่พี่เลี้ยง  แล้วสามารถมองเห็นภาพตัวเอง เห็นอนาคตที่สดใส ในบทบาทหน้าที่การงาน รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาในอนาคตได้ด้วย mentees ส่วนใหญ่ต้องการทำตามคนที่เป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างดีจากเพื่อนร่วมงานและมีผลงานที่มีประสิทธภาพสูงด้วย

5. มีค่านิยมสอดคล้องกับองค์กร

พี่เลี้ยงที่ดีควรมีค่านิยม ความเห็นในคุณค่าขององค์กร เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมการทำงานที่สอดคล้องกับองค์กรให้กับน้องเลี้ยง เพื่อมุ่งมั่นผลักดันเป้าหมายขององค์กรให้สำเร็จได้

6. ยอมรับความคิดเห็นและความคิดริเริ่มของทีม

พี่เลี้ยงที่เห็นคุณค่าของคนอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นคนที่ทำงานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่  ยังมีการทำงานเป็นทีม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งให้ความคิดเห็นในเชิงบวกและการเสริมแรงเพื่อให้ทีมบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน

ฝากไว้เป็นแง่คิด สำหรับหัวหน้าหรือผู้จัดการที่กำลังจะหาพี่เลี้ยงให้น้องใหม่ในการทำงาน สำหรับในการพิจารณาบทบาทคนที่จะมาเป็นพี่เลี้ยงด้วย  หลายครั้งที่องค์กร ได้สรรหาคนเก่ง คนดีเข้ามา แต่อยู่ได้ไม่นาน หรืออยู่ๆไปคนเก่ง ยังเก่งเหมือนเดิม แต่ทัศนคติต่อองค์กรติดลบ เพราะไปเข้ากลุ่มผิด ก็น่าเสียดายทรัพยากรบุคคลไป  การมีระบบพี่เลี้ยง (Mentoring system) ที่ดีก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะรักษาคนเก่ง คนดีให้อยู่ในองค์กรได้นานๆ  และสามารถที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกันได้


อ้างอิงจาก https://www.sasimasuk.com/16554894/%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3mentoring-in-organization

ดู 167 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page